คุณอยู่ที่ : เกี่ยวกับเรา / ประวัติวิทยาลัย
วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุรินทร์ เป็นสถานศึกษาที่สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
ตั้งอยู่เลขที่ 426 ถนนเทศบาล 1 ตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ มีเนื้อที่ 29 ไร่ 2 งาน
ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2483 เปิดสอนที่วัดจุมพลสุธาวาส ชื่อว่า “โรงเรียนช่างเย็บเสื้อผ้าจังหวัดสุรินทร์” จัดการศึกษาในระดับอาชีวศึกษาตอนต้น หลักสูตรช่างเย็บเสื้อผ้า
พ.ศ. 2483 ย้ายไปทำการสอนที่สโมสรลูกเสือของโรงเรียนประจำจังหวัดหลังศาลากลางจังหวัด
พ.ศ. 2490 โรงเรียนได้เปลี่ยนหลักสูตรจากช่างตัดเย็บเสื้อผ้าเป็นสอนวิชาช่างสตรี ขยายการศึกษาจากระดับอาชีวศึกษาตอนต้นเป็นอาชีวศึกษาตอนปลายและเปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนการช่างสตรีสุรินทร์”
พ.ศ. 2497 โรงเรียนได้ย้ายจากสโมสรลูกเสือมาสร้างใหม่ในพื้นที่ปัจจุบัน ซึ่งเดิมเป็น “โรงเรียนกสิกรรม” มีเนื้อที่ 29 ไร่ 2 งาน
พ.ศ. 2503 เปิดสอนระดับอาชีวศึกษาชั้นสูงรับนักเรียนที่สำเร็จการศึกษา ม.ศ.3 เข้าเรียนเข้าศึกษาต่อ
พ.ศ. 2508 โรงเรียนได้เข้าเป็นโรงเรียนในโครงการปรับปรุงขององค์การยูนิเซฟ เปิดสอน 4 แผนกวิชา
1) แผนกวิชาคหกรรมศาสตร์ทั่วไป
2) แผนกวิชาผ้าและเครื่องแต่งกาย
3) แผนกวิชาอาหารและโภชนาการ
4) แผนกวิชาศิลปหัตถกรรม
พ.ศ. 2516 โรงเรียนได้เปลี่ยนชื่อจาก “โรงเรียนการช่างสตรีสุรินทร์” เป็นโรงเรียน “อาชีวศึกษาสุรินทร์”
พ.ศ. 2519 เปิดสอนแผนกวิชาพณิชยการ และโรงเรียนได้รับการยกฐานะเป็น “วิทยาลัย” โดยรวมกับโรงเรียนการช่างสุรินทร์เป็น “วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุรินทร์” โดยแยกออกเป็น 2 วิทยาเขตคือ
1) วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุรินทร์ วิทยาเขต 1 (โรงเรียนการช่างสุรินทร์)
2) วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุรินทร์ วิทยาเขต 2 (โรงเรียนอาชีวศึกษาสุรินทร์)
พ.ศ. 2520 วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุรินทร์ วิทยาเขต 2 ได้เปิดสอนระดับการศึกษาประโยควิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) แผนกวิชาคหกรรมศาสตร์ทั่วไป
พ.ศ. 2523 ในเดือนเมษายน วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุรินทร์ วิทยาเขต 2 ได้แยกออกมาเป็น “วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุรินทร์” จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ ระบบปกติ 2 ระดับการศึกษา คือ
1) ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) รับผู้สำเร็จการศึกษา ม.ศ.3
2) ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ปวช. และเปิดสอนระดับวิชาชีพ 3 ประเภทวิชา คือ
1) ประเภทวิชาคหกรรม
2) ประเภทวิชาศิลปหัตถกรรม
3) ประเภทวิชาพาณิชยกรรม/บริหารธุรกิจ
พ.ศ. 2524 วิทยาลัยฯ ได้ใช้หลักสูตร (ประกาศนียบัตรวิชาชีพ พ.ศ.2524) ในระดับ ปวช. ชั้นปีที่ 1 และเปลี่ยนระบบการเรียนเป็นการลงทะเบียนรายวิชา
พ.ศ. 2525 วิทยาลัยฯ ได้เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค
พ.ศ. 2526 วิทยาลัยฯ ได้เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) แผนกวิชาการบัญชี
พ.ศ. 2527 วิทยาลัยได้เปิดสอนระดับ ปวส. เพิ่มขึ้นดังนี้
1) สาขาวิชาการตลาด
2) สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
3) สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์
4) สาขาวิชาผ้าและเครื่องแต่งกาย
5) สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ
6) สาขาวิชาศิลปประยุกต์
และในปีการศึกษานี้ “วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุรินทร์ ได้รับการคัดเลือกให้เป็น “สถานศึกษาเร่งรัดพัฒนาดีเด่น” กลุ่มวิทยาลัยอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พ.ศ. 2536 วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุรินทร์ ได้รับการคัดเลือกให้เป็น “สถานศึกษาดีเด่น” และ “สถานศึกษารางวัลพระราชทานระดับอุดมศึกษา”
พ.ศ. 2538 เปิดการเรียนการสอน ระบบทวิภาคี (Dual Vocational Training : D.V.T) ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาธุรกิจค้าปลีก
พ.ศ. 2544 วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุรินทร์ได้รับการคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นสถานศึกษาที่ได้รับรางวัลพระราชทาน ระดับอุดมศึกษา (ต่ำกว่าปริญญาตรี) ประจำปีการศึกษา 2544
พ.ศ. 2548 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
พ.ศ. 2549 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีก สาขางานธุรกิจซุปเปอร์เซนเตอร์
พ.ศ. 2550 แยกสาขาวิชาธุรกิจโรงแรมจากประเภทวิชาบริหารธุรกิจ เป็นประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
พ.ศ. 2553 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาศิลปกรรม สาขางานคอมพิวเตอร์กราฟิก
พ.ศ. 2555 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขางานการจัดการสำนักงาน Mini English Program (MEP)
พ.ศ. 2556 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
- สาขางานธุรกิจค้าปลีกซูเปอร์เซ็นเตอร์ (ทวิภาคี)
- สาขางานอาหารและโภชนาการ (ทวิภาคี)
- สาขางานการโรงแรม (ทวิภาคี)
พ.ศ. 2556 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขางานการบัญชี หลักสูตรภาคภาษาอังกฤษ Mini English Program (MEP)
พ.ศ. 2556 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขางานบริการอาหารและเครื่องดื่ม หลักสูตรภาคภาษาอังกฤษ Mini English Program (MEP)
พ.ศ. 2557 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
- สาขางานการเลขานุการ (ทวิภาคี)
- สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ (ทวิภาคี)
- สาขางานการท่องเที่ยว
พ.ศ. 2557 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
- สาขางานการบัญชี (ทวิภาคี)
- สาขางานการจัดการสำนักงาน (ทวิภาคี)
- สาขางานธุรกิจซุปเปอร์เซนเตอร์
- สาขาวิชาการบริหารงานคหกรรมศาสตร์ สาขางานธุรกิจงานประดิษฐ์ (ทวิภาคี)
- สาขาวิชาการจัดการธุรกิจท่องเที่ยว สาขางานมัคคุเทศก์ทั่วไป
พ.ศ. 2558 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
- สาขางานการตลาด (ทวิภาคี)
- สาขางานการเลขานุการ หลักสูตรภาคภาษาอังกฤษ Mini English Program (MEP)
- สาขางานการโรงแรม หลักสูตรภาคภาษาอังกฤษ Mini English Program (MEP)
พ.ศ. 2558 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
- สาขางานการตลาด (ทวิภาคี)
- สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ หลักสูตรภาคภาษาอังกฤษ Mini English Program (MEP)
ปัจจุบันวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุรินทร์ เปิดทำการสอน 2 ระดับ คือ ระดับปวช. และ ระดับปวส.
วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุรินทร์ มีเนื้อที่รวม 29 ไร่ 2 งาน ตั้งอยู่เลขที่ 426 ถนนเทศบาล 1 อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โทรศัพท์ 044-511191 โทรสาร 044-512697
วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุรินทร์ ตั้งอยู่ในจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งมีสภาพชุมชน โดยสังเขปดังนี้
จังหวัดสุรินทร์ตั้งอยู่ระหว่างเขตเส้นรุ้งที่ 15 – 16 องศาเหนือ และระหว่างเส้นแวงที่ 103 – 105 องศาตะวันออก มีเนื้อที่ประมาณ 8,124.056 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 5,077,535 ไร่) พื้นที่ส่วนใหญ่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางเฉลี่ย 200 เมตร ระยะทางห่างจากกรุงเทพมหานคร โดยทางรถยนต์ประมาณ 450 กิโลเมตร และทางรถไฟประมาณ 420 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดต่าง ๆ และประเทศเพื่อนบ้าน ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอปทุมรัตน์ อำเภอสุวรรณภูมิ และอำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ดและอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอพุทไธสง อำเภอสตึก อำเภอกระสัง อำเภอประโคนชัย และอำเภอ อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์
ทิศใต้ ติดต่อกับพรมแดนด้านทิศเหนือของราชอาณาจักรกัมพูชา ตามแนวเทือกเขาพนมดงรัก ในเขตท้องที่อำเภอศรีโสภณ หมอพอก อำปึล อังโกร์จุม จังหวัดเสียมราฐ และจังหวัดพระวิหาร
ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดศรีษะเกษ
โครงสร้างทางเศรษฐกิจของจังหวัดสุรินทร์ ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางด้านเกษตรกรรม มีการทำนาข้าวเจ้า ทำสวน และยางพารา อาชีพสำคัญรองลงมา คือ การเลี้ยงไหม แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 17 อำเภอ 158 ตำบล 2,019 หมู่บ้าน
จังหวัดสุรินทร์ มีประชากรร้อยละ 93 อาศัยอยู่ในเขตชนบท มีภาษาพูดพื้นเมือง ที่แตกต่างกันเป็น 3 กลุ่ม คือ
กลุ่มแรก เป็นกลุ่มที่พูดภาษาเขมร ส่วนใหญ่อาศัยอยู่แถบอำเภอเมืองสุรินทร์ อำเภอปราสาท อำเภอกาบเชิง อำเภอสังขะ อำเภอบัวเชด อำเภอจอมพระ อำเภอศีขรภูมิ อำเภอท่าตูม อำเภอสนม อำเภอรัตนบุรี และกระจายอยู่ตามอำเภออื่น ๆ
กลุ่มที่สอง เป็นกลุ่มที่พูดภาษาส่วย ส่วนใหญ่อาศัยอยู่แถบอำเภอเมืองสุรินทร์ อำเภอสังขะ อำเภอท่าตูม อำเภอสนม อำเภอจอมพระ อำเภอศีขรภูมิ อำเภอรัตนบุรี และกระจายอยู่ตามอำเภออื่น ๆ อีกเล็กน้อย
กลุ่มที่สาม เป็นกลุ่มที่พูดภาษพื้นเมืองอีสาน (ลาว) อาศัยอยู่แถบอำเภอสนม
อำเภอรัตนบุรี อำเภอท่าตูม อำเภอชุมพลบุรี และอำเภอศีขรภูมิ